Last updated: 22 ต.ค. 2560 | 2404 จำนวนผู้เข้าชม |
ในอดีต กว่าที่ศิลปินซักคนจะยืนหยัดอยู่ได้ ล้วนต้องผ่านความยากลำบาก ฟันผ่านิยามคำว่า “ศิลปินไส้แห้ง” ค่านิยมที่ฝังรากลึกในสังคมและครอบครัวไทย จึงไม่ใช่คนทุกคน ที่เกิดมามีจิตวิญญาณคลั่งไคล้ในศิลปะ จะได้เดินบนเส้นทางนี้
ทั้งหมดทั้งมวลก็น่าจะมาจากการที่ คุณค่าทางสุนทรีย์ ไม่สามารถประเมินด้วยมาตรวัดใดๆ ทำให้ต้องวัดกันด้วยมูลค่าทางเศรษฐกิจแทน
จนกระทั่งวรรคทองของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นักวิทยาศาสตร์คนสำคัญของโลกที่กล่าวไว้ว่า “จินตนาการ สำคัญกว่าความรู้” ถูกนำมาศึกษาถึงแก่นแท้อย่างจริงจังโดยนักวิทยาศาสตร์ จึงเกิดการบรรจบกันระหว่างวิทยาศาสตร์และศิลปะ ในสมมติฐานที่ว่า ศิลปะ ส่งผลอย่างไรต่อมนุษย์ในแง่กายภาพ
ซึ่งนั่นเป็นการเปิดมิติใหม่ จากที่เคยรับรู้กันว่า ศิลปะส่งผลต่ออารมณ์ การศึกษาทางวิทยาศาสตร์ด้านสมองค้นพบความจริงว่า
ศิลปะก่อให้เกิดการเชื่อมต่อกันของเซลล์สมอง ในส่วนจินตนาการ ความซาบซึ้งประทับใจ เกิดการเคลื่อนไหวประสานกันของมือไม้แขนขาที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมศิลปะ ไม่ว่าจะเป็นสมองส่วนหน้า (cerebral cortex) สมองส่วนกลาง (parietal lobe) สมองน้อย (cerebellum) หรือสมองส่วนที่รับผิดชอบเกี่ยวกับอารมณ์ (amygdala)
หรือจะพูดให้เข้าใจง่ายๆ การที่เซลล์สมองมาต่อเชื่อมกันเป็นวงจรประสาท และจัดระเบียบกันได้ดีมากเท่าไหร่ ประสิทธิภาพของสมองย่อมมีมากขึ้นเท่านั้น เป็นปัจจัยทำให้มนุษย์ฉลาดมากขึ้นนั่นเอง
จึงนับว่างานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ชิ้นนี้ ช่วยเปิดโลกทัศน์ ทำให้ครอบครัวยุคใหม่กระตือรือร้นที่จะใช้ศิลปะกระตุ้นพัฒนาการของเด็ก ซึ่งก็มีแนวโน้มว่า ในอนาคตเราจะมีศิลปินที่เก่งๆ มาประดับวงการเพิ่มขึ้นกว่าแต่ก่อนอย่างแน่นอน
โครงการอาสาศิลป์ www. rsasilp.com โทรศัพท์ : 081 6270588 อีเมล์ : rsasilp@gmail.com
ศิลปะ เปลี่ยนประเทศของเราได้มากกว่าที่คุณคิด
10 มี.ค. 2560